KM ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและแสวงหาความรู้ การบริการทรัพยากรสารสนเทศด้วยเทคโนโลยี 4.0

          การสร้างและแสวงหาความรู้ การบริการทรัพยากรสารสนเทศด้วยเทคโนโลยี 4.0 โดย นายวัชรากร พรมทอง ผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท เทรซ ออน จำกัด ให้คำแนะนำในการใช้งานระบบอุปกรณ์เทคโนโลยี RFID ซึ่งเป็นการสร้างและแสวงหาความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (tacit knowledge) เนื่องจากการนำระบบเทคโนโลยี RFID เข้ามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานการบริหารจัดการสารสนเทศที่มีอยู่ในห้องสมุดซึ่งเกี่ยวข้องในงานห้องสมุดทั้งในด้านกระบวนการทำงานและด้านการบริการผู้ใช้มีระบบโปรแกรมอัตโนมัติในการจัดการงานด้านต่าง ๆ ของห้องสมุด ได้แก่

1) การใช้งานประตูควบคุมบุคคล‎เข้า-ออกแบบปีกนก (Flap Gate Barrier)
2) การใช้งานเครื่องรับคืน‎ หนังสืออัตโนมัติ (‎Book Return‎)
3) การใช้งานเครื่องยืมหนังสือ‎ อัตโนมัติ (‎Self‎ -‎ Check ‎ Kiosk‎)‎
4) การใช้งานเครื่องยืมคืนผ่าน‎ บรรณารักษ์ ‎(‎Staff ‎ Station‎)
5) การใช้งานประตูป้องกัน‎ ทรัพยากรห้องสมุด‎ สูญหายด้วย‎ เทคโนโลยีคลื่นวิทยุ (‎Security Gate‎)
6) การใช้งานอุปกรณ์ลงรหัส‎ ข้อมูลหนังสือ ‎ (‎Tagging Station‎)

          ผู้ปฏิบัติงานยังไม่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในการใช้งานจึงได้ปรึกษาหารือเพื่อหาผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทผู้ผลิตมาให้ความรู้โดยการให้คำแนะนำเทคนิคการใช้งานนายวัชรากร พรมทอง ผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท เทรซ ออน จำกัด มาเป็นวิทยากรในการให้ความรู้กับผู้ปฏิบัติงานและผู้ปฏิบัติงานได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์และปัญหาต่าง ๆ จึงเป็นการถอดบทเรียนจากบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาการบริการทรัพยากรสารสนเทศด้วยเทคโนโลยี 4.0
เอกสารหลักฐานอ้างอิง :
                  1) เอกสารคู่มือการใช้งานระบบควบคุมและการแสดงรายงานผลระบบ RFID

                  2) เอกสารบรรณารักษ์กับเทคโนโลยีในยุคไทยแลนด์ 4.0

Copyright © 2017. All rights reserved.