KM ขั้นตอนที่ 3 การจัดความรู้ให้เป็นระบบ การบริการทรัพยากรสารสนเทศด้วยเทคโนโลยี 4.0

การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อการเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องในอนาคต

1. ประชุมสมาชิกครั้งที่ 1/2562 เพื่อสกัดความรู้ที่ได้จากการถอดบทเรียนวิธีปฏิบัติรายบุคคลที่ได้ให้สมาชิกแต่ละคนได้เรียนรู้มา โดยใช้วิธีประชุมกลุ่มย่อยเพื่อสกัดองค์ความรู้จากการถอดบทเรียนวิธีปฏิบัติรายบุคคลและได้มาเป็น องค์ความรู้เรื่อง การบริการทรัพยากรสารสนเทศด้วยเทคโนโลยี 4.0 ที่ผ่านการสกัดความรู้จากกลุ่มความรู้ ซึ่งยังไม่ได้ถูกจัดกลุ่ม และดัดแปลง ซึ่งกระจัดกระจายและไม่สามารถจัดกลุ่มองค์ความรู้ได้สมาชิกได้ประชุมเพื่อปรับปรุง ดัดแปลง องค์ความรู้ความรู้ให้เหมาะสมต่อการดำเนินงาน โดยนำองค์ความรู้ มาปรับปรุง ดัดแปลง ให้เหมาะสมต่อการนำไปปฏิบัติ

2. การจัดความรู้ให้เป็นระบบได้มีการวางโครงสร้างความรู้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อการเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องในอนาคต จัดรวบรวมข้อมูลและความรู้ที่ได้รับจากวิทยากรที่ให้คำชี้แนะจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องโดยวิทยากรแนะนำวิธีการใช้งานที่ถูกต้องเหมาะสม ขั้นตอนการดำเนินการที่ถูกต้องในส่วนงานห้องสมุด สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศแล้วนั้นเป็นคู่มือแนวปฏิบัติที่ดีในการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศด้วยเทคโนโลยี 4.0 ต่าง ๆ

3. เทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification System) เป็นระบบที่ใช้สัญญาณคลื่นวิทยุในการตรวจสอบและระบุตำแหน่งวัตถุ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการห้องสมุดได้เป็นอย่างดี โดยระบบจะอ่านข้อมูลจากแผ่นข้อมูล RFID Tag ที่ติดอยู่กับหนังสือ และเชื่อมโยงกับโปรแกรมระบบบริหารงานห้องสมุด ในการยืม – คืนหนังสือด้วยตนเอง การตรวจสอบสถานภาพการยืม การควบคุมการเข้า – ออกห้องสมุด การสำรวจและการค้นหาหนังสือ เป็นต้น คลื่นความถี่วิทยุที่ใช้ในระบบ RFID ที่เหมาะสมกับงานห้องสมุดในปัจจุบันมี คือ คลื่นวิทยุย่านความถี่สูงยิ่ง (Ultra High Frequency: UHF)

การยืม – คืนทรัพยากรสารสนเทศ ผู้ใช้สามารถบริการตนเองผ่านระบบยืม – คืนอัตโนมัติซึ่งมีขั้นตอนการใช้งานที่ไม่ยุ่งยาก และสามารถทำรายการได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการประหยัดเวลาของผู้ใช้บริการ (Roy & Basak, 2011) รวมถึงสนับสนุนการให้บริการคืนทรัพยากรนอกเวลาทำการ ผ่านตู้คืนหนังสืออัตโนมัติ (Book Return) ซึ่งให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง (Ngian, 2003) และระบบดังกล่าวสามารถเปลี่ยนสถานะของทรัพยากรในระบบของห้องสมุดและข้อมูลการยืมของผู้ใช้บริการให้เป็นปัจจุบันได้ในทันที(Baba & Tripuram, 2014)

การนำระบบ RFID เข้ามาประยุกต์ใช้ในองค์กรมิได้มีจุดประสงค์เพื่อมาแทนที่ระบบอื่นที่มีการนำมาใช้ก่อนหน้า เช่น ระบบบาร์โค้ด แต่เป็นการเสริมจุดอ่อนต่าง ๆ ระบบบาร์โค้ดทำให้เพิ่มความรวดเร็วในการทำงานอย่างมากของระบบ

                 1. แนวปฏิบัติที่ดีในการใช้งานประตูควบคุมบุคคล‎ เข้าออกแบบปีกนก ‎ ชนิด ‎4 ‎แผง ‎3 ‎ช่อง‎ ทาง‎  (Flap Gate Barrier) 

                 2. แนวปฏิบัติที่ดีในการใช้งานเครื่องรับคืน‎ หนังสืออัตโนมัติ ‎ (‎Book Return‎)

                 3. แนวปฏิบัติที่ดีในการใช้งานเครื่องยืมหนังสือ‎ อัตโนมัติ ‎ (‎Self‎ -‎ Check ‎ Kiosk‎)‎ 

                 4. แนวปฏิบัติที่ดีในการใช้งานเครื่องยืมคืนผ่าน‎ บรรณารักษ์ ‎(‎Staff ‎ Station‎) 

                 5. แนวปฏิบัติที่ดีในการใช้งานประตูป้องกัน‎ ทรัพยากรห้องสมุด‎ สูญหายด้วย‎ เทคโนโลยีคลื่นวิทยุ ‎ (‎Security Gate‎)

                 6. แนวปฏิบัติที่ดีในการใช้งานอุปกรณ์ลงรหัส‎ ข้อมูลหนังสือ ‎ (‎Tagging Station‎) 

 

 

Copyright © 2017. All rights reserved.